น้ำมันเครื่องมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ในปัจจุบันที่คนหันมาขี่รถจักรยานยนต์แทนรถรถยนต์ซ่ะมากแล้ว สิ่งที่สำคัญและควรรู้ก็คือเรื่องของมันมันเครื่อง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าน้ำมันเครื่องมีหน้าที่แค่หล่อลื่นเครื่องยนต์เพียงเท่านั้น แต่จริง ๆแล้วหน้าที่ของน้ำมันเครื่องมีมากมายกว่านั้นมาก อาธิเช่นทำหน้าที่ลดการสึกหรอของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ลดความร้อนให้กับชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือระบายความร้อนของเครื่องยนต์อันเอง เคลือบช่องว่างระหว่างผิวสัมผัส ทำความสะอาดเขม่าและเศษโลหะภายในเครื่องยนต์ ป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมและกรดต่าง ๆ และป้องกันกำลังอัดของเครื่องยนต์รั่วไหลเป็นต้น ซึ่งปกติแล้ว น้ำมันเครื่องที่เราเห็นได้ตามท้องตลาดจะแบ่งออกตามกรรมวิธีการผลิตได้ทั้งหมด 3 ชนิดครับ ซึ่งได้แก่ น้ำมันเครื่องธรรมดา (Conventional Oil), น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ (Synthetic Oil) และน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-synthetic Oil)
น้ำมันเครื่องชนิดธรรมดา (Mineral Oil)
น้ำมันเครื่องธรรมดา จะมีม้ำมันเป็นน้ำมันที่ได้จากกระบวนการกลั่นจากน้ำมันดิบ หรือที่เรียกว่า Mineral หรือจะพูดง่าย ๆก็คือเป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติล้วน ๆ ดังนั้นตัวโมเลกุลของน้ำมันชนิดธรรมดาจึงมีความแตกต่างกันทั้งในเชิงกายภาพและก็เชิงเคมี
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic Oil)
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Synthetic Blends เป็นน้ำมันเครื่องที่ใช้ตัวของน้ำมันแบบผสม ซึ่งจะประกอบไปด้วย น้ำมันจากการสังเคราะห์ และ น้ำมันที่กลั่นจากน้ำมันดิบจากธรรมชาติ ส่วนอัตราการผสมจะก็แตกต่างกันไปตามสูตรของแต่ละยี่ห้อและเกรดของน้ำมันเครื่อง ซึ่งโดยมากแล้วจะผสมน้ำมันแบบสังเคราะห์ลงไปเป็นปริมาณมากกว่า 30-40 % และส่วนที่เหลือจะเป็นน้ำมันที่กลั่นจากน้ำมันดิบ และถ้าหากจะมองถึงเรื่องของราคาที่ถูกกว่าน้ำมันสังเคราะห์แท้ค่อนข้างมาก และประสิทธิภาพการใช้งานที่เกินตัวและค่อนข้างคุ้มค่ามาก ทำให้คนส่วนใหญ่มักนิยมใช้น้ำมันเครื่องประเภทกึ่งสังเคราะห์กัน
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100 % (Synthetic Oil)
ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานสังเคราะห์น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ โดยที่น้ำมันเครื่องประเภทนี้จะได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี หรือพูดง่ายๆ ว่า ได้มาจากในห้องLabนั่นแหละ เพราะฉะนั้นในระหว่างกระบวนการสังเคราะห์ จึงสามารถเพิ่มคุณสมบัติบางอย่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวน้ำมันเครื่องได้อย่างอิสระ