W124 Series
124 Series ผลิตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 ถึงปี ค.ศ. 1997 โดยได้กำหนดค่าตัวถังอย่างเป็นทางการ ซึ่งแตกต่างกันไปตามสไตล์ตัวถัง อย่างเช่น รถเก๋ง (W124) รถเอสเตท (S 124) รถคูเป้ (C 124) รถเปิดประทุน (A 124) รถลีมูซีน (V 124) และรุ่นฐานล้อยาว (VF 124)
W124 เป็นรถยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นอันดับที่ 2 ในยุคนั้น ที่ได้มีการนำเอาเหล็กกล้า ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และมีน้ำหนักเบามาใช้ ซึ่งปัจจุบันได้เป็นมาตรฐานในการออกแบบรถยนต์กันอย่างแพร่หลาย วิศวกรรมของ 124 ส่วนใหญ่และคุณลักษณะหลายอย่าง ก็คือการใช้เทคโนโลยียานยนต์ขั้นสูงในช่วงเปิดตัว โดยผสมผสานนวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับทั่วทั้งอุตสาหกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน (Cd) ที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับรถใดๆ ในยุคนั้น (0.28 สำหรับรุ่น 200/200D สำหรับตลาดยุโรปที่มียางขนาด 185/65 R15)
เนื่องจากตัวถังตามหลักอากาศพลศาสตร์ ซึ่งรวมถึงแผ่นปิดใต้ท้องรถที่ทำจากพลาสติกขึ้นรูป เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ ลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและเสียงลม มีที่ปัดน้ำฝนกระจกหน้าแบบแขนเดี่ยวที่มีกลไกยืดหดได้เพื่อขยายขอบเขตของที่ปัดน้ำฝน ไปถึงมุมด้านบนของกระจกหน้ารถ แผงหน้าปัดทำจากโฟมเทียมดูดซับแรงกระแทกเสริมด้วยชั้นอะลูมิเนียมบางๆ ซึ่งช่วยป้องกันท่อ วาล์ว ช่องอุปกรณ์ และส่วนประกอบอื่นๆ จากความร้อนและเครื่องยนต์ไม่ให้ทะลุผ่านแผงหน้าปัดภายในห้องโดยสารจากการกระแทกที่รุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่องเก็บของผู้โดยสารยังมีจุดแตกหักที่กำหนดไว้ ซึ่งลดความน่าจะเป็นของการบาดเจ็บของผู้โดยสารด้านหน้าได้มาก
ในปี ค.ศ. 1989 W124 ได้รับการปรับรูปโฉม โดยสร้างความแตกต่างและความโดดเด่นที่สุด คือการนำสิ่งที่เรียกว่า “แผ่นไม้ Sacco” มาเป็นชิ้นส่วนตกแต่งตัวถังซึ่งติดตั้งอยู่ที่ส่วนล่างของประตูนั่นเอง ซึ่งการเปลี่ยนรูปลักษณ์ ครั้งนี้ ทำให้ส่วนด้านหน้ามีความคล้ายคลึงกับซีรีส์ 140 มากขึ้น และกันชนหลังในรุ่นซาลูน รุ่นเปิดประทุน และรุ่นคูเป้ ถูกขยายเพิ่มเติมรอบปีกด้านหลัง แต่ในขณะที่รุ่นเอสเตทยังคงกันชนหลังเดิมไว้